วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553



การแต่งกลอน

ลักษณะบังคับของกลอน


คณะ จะจัดเป็นบท บทหนึ่งประกอบด้วย ๒ บาท ซึ่งเรียกว่า บาทเอก และ บาทโท การแต่งคำกลอนจะต้องจบบด้วยบาทโทเสมอ


บาทเอก ประกอบด้วยคำประพันธ์ ๒ วรรค วรรคหน้าเรียกว่า วรรคสดับ
บาทโท ประกอบด้วยคำประพันธ์ ๒วรรคเช่นกัน วรรคหน้าเรียกว่า วรรครอง วรรคหลังเรียก ว่าวรรคส่ง


ซึ่งมีความหมายถึงการส่งท้ายหรือสัมผัสไปยังบทต่อไป


กลอนวรรคหนึ่งจะประกอบด้วยคำหรือพยางค์ตั้งแต่ ๗-๙คำแต่ที่นิยมกันจะใช้ ๘คำ

สัมผัสนอก การส่งสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอกมีดังนี้


.คำสุดท้ายของวรรคสดับส่งสัมผัสไปยังคำที่๑ ๒ ๓ ๕ของวรรครับแต่นิยมว่าไพเราะที่สุด คือ สัมผัสด้วย คำที่ ๓


๒. คำสุดท้ายของวรรรับ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรครองและคำที่ ๓ของวรรคส่ง


๓. ถ้าแต่งติดต่อกันไปหลายๆบทคำสุดท้ายของวรรคส่งในบทหน้าจะต้องส่งสัมผัสรับกันกับคำสุดท้ายในวรรครับของบทต่อไป


สัมผัสใน นิยมทําสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ที่นิยม คือ คําที่๓ กับ๔ม สัทผัสสระได้แก่เหง่ง- แล-ชะแง้ โยคี-ขี่ สัมผัสอักษรได้แก่ เดี๋ยว-ดัง แล้ว-แล-เหลียว แสน-สุด

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
คำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า "สุภาพ" นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง "รูปวรรณยุกต์" ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ [1] เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ 2 ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน